วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นิยามของสุขภาพ


สุภาพ คือ การมีร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บในทุกส่วนของร่างกาย มีสุขภาพจิตดี และสามารถปรับตัวให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข

สุขบัญญัติ 10 ประการ

1.ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด
     ทำได้โดย         อาบน้ำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และสระผมอย่างน้อย สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
                                        ตัดเล็บมือ เล็บเท้า ให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรค
                          ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น และให้ความอบอุ่นอย่างเพียงพอ

2.รักษาฟันให้แข็งแรง และแปรงฟันทุกวันอย่างถูกวิธี
     ทำได้โดย        แปรงฟันทุกวันอย่างถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ เวลาเช้า และก่อนนอน                     
                                            ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

3.ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย
     ทำได้โดย         ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้ง ก่อนและหลังรับประทานอาหาร รวมทั้งหลังการขับถ่าย

4.กินอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด
     ทำได้โดย         เลือกซื้ออาหารสด สะอาด ปลอดสารพิษ
                                         
 หลีกเลี่ยงทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หรืออาหารรสจัด ของหมักดอง
                                    ทานอาหารให้ถูกหลักโภชณาการ

5.งดสูบบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ
     ทำได้โดย         งดสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดใช้สารเสพติด งดเล่นการพนัน
                                           ส่งเสริมค่านิยม รักนวลสงวนตัว และมีคู่ครองเมื่อถึงวัยอันควร

6.สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น 
     ทำได้โดย         เผื่อแผ่น้ำใจให้กันและกัน
                                           หากิจกรรมทำร่วมกันในครอบครัว

7.ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท
     ทำได้โดย        ระมัดระวังตัวเองอยู่ตลอดเวลา

8.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปี
     ทำได้โดย         ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
                                           ออกกำลังกายและเล่นกีฬาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและวัย

                                ตรวจสุขภาพประจำปีกับแพทย์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

9.ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ

     ทำได้โดย           พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ อย่างต่ำ 8 ชั่วโมง
                                     หาทางผ่อนคลายความเครียด เมื่อมีปัญหา หรือเรื่องไม่สบายใจรบกวน

10.มีสำนึกต่อส่วนรวมร่วมสร้างสรรค์สังคม
     ทำได้โดย        ทิ้งขยะในที่รองรับ
                                              หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
                                              ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กีฬาลีลาศ



                                           


ความหมายของ ลีลาศ

                คำว่า “ลีลาศ” หรือ “เต้นรำ” มีความหมายเหมือนกัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปีพุทธศักราช 2525 ได้ให้ความหมายดังนี้
                ลีลาศ  เป็นนามแปลว่า  ท่าทางอันงดงาม  การเยื้องกราย  เป็นกิริยาแปลว่า  เยื้องกรายเดิน   นวยนาด
                เต้นรำ  เป็นกิริยาแปลว่า  เคลื่อนที่ไปโดยมีระยะก้าวตามกำหนด  ให้เข้ากับจังหวะดนตรี  ซึ่งเรียกว่า  ลีลาศ  โดยปกติเต้นเป็นคู่ชายหญิง
                คนไทยนิยมเรียกการลีลาศว่า  “เต้นรำ” มานานแล้ว คำว่าลีลาศตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Ballroom Dancing” หมายถึง การเต้นรำของคู่ชายหญิงตามจังหวะดนตรีที่มีแบบอย่างและลวดลายการเต้นเฉพาะตัว โดยมีระเบียบของการชุมนุม ณ สถานที่อันจัดไว้ในสังคม ใช้ในงานราตรีสโมสรต่าง ๆ และมิใช่การแสดงเพื่อให้คนดู
                อาจสรุปได้ว่า  “ลีลาศ” คือ กิจกรรมเข้าจังหวะประเภทหนึ่ง เป็นการเต้นรำที่แสดงออกอย่างมีศิลปะ โดยใช้เสียงเพลงและจังหวะดนตรีเป็นสื่อ เพื่อให้เกิดความสนุกสนามเพลิดเพลิน มีลวดลายการเต้น (Figure) เป็นแบบเฉพาะตัว และมักนำลีลาศมาใช้ในงานสังคมทั่ว ๆ ไป



ประวัติลีลาศ

         การลีลาศเป็นกิจกรรมการบันเทิงที่ถือกำเนิดจากความต้องการของการร้องรำทำเพลงเพื่อแสดงออกซึ่งความสนุกสนานรื่นเริงอย่างหนึ่ง  ซึ่งมีขึ้นในยุโรปประมาณศตวรรษที่  15 และในสมันต่อมาการลีลาศแบบนี้ก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ เป็นแบบและจังหวะต่างๆ เช่นวอลซ์ แทงโก้ บีกินและอื่นๆ จนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
                การลีลาศนอกจากเป็นกิจกรรมการบันเทิงที่สนองความต้องการของร่างกายและจิตใจและเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงในโอกาสพบปะสังสรรค์กันได้เป็นอย่างดีแล้ว  ยังถือว่าเป็นศิลปะการเคลื่อนไหวของส่วนต่างๆ ของร่างกายที่มีลีลาเต็มไปด้วยความสง่างามตามความรู้สึกของอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากดนตรีในขณะที่ลีลาศนั้นอย่างยิ่งอีกด้วย ในช่วงปี พ..2475-2476 ได้มีการบัญญัติศัพท์คำว่า ลีลาศ ขึ้น การลีลาศดูท่าว่าจะไปได้ด้วยดีแต่ก็ได้ซบเซาลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งสงครามสงบลงในเดือน กันยายนพ.. 2488 วงการลีลาศของไทยเริ่มฟื้นตัวขึ้นใหม่อีกครั้ง


ประวัติลีลาศของประเทศไทย

         ไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัดว่าการลีลาศในประเทศไทยเกิดขึ้นในสมัยใด สันนิษฐานว่าชาวต่างชาติได้นำมาเผยแพร่ในรัชสมัยของพรบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จุลศักราช1226 จากบันทึกของแหม่มแอนนาทำให้มีหลักฐานเชื่อได้ว่า คนไทยลีลาศเป็นมาตั้งแต่สมัยพระองค์ และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรบการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกของไทย
                ในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนใหญ่มีแต่เจ้านายและขุนนาชั้นผู้ใหญ่ที่เต้นรำกันพอเป็น โดยเฉพาะเจ้านายที่ว่าการต่างประเทศได้มีการเชิญฑูตานุฑูต และแขกชาวต่างประเทศมาชุมนุมเต้น รำกันที่บ้าน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในการเฉลิมพระชนมพรรษาหรือเนื่องในวันบรมราชาภิเษก เป็นต้น
        ในปี พ..2491ได้มีการก่อตั้งสมาคมลีลาศแห่งประเทศไทยขึ้น โดยสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ มีหลวงประกอบนิติสาร เป็นนายกสมาคมคนแรก ปัจจุบันสมาคมลีลาศแห่งประเทศไทยเป็นสมาชิกของสภาการลีลาศนานาชาติด้วยประเทศหนึ่ง
       หลังจากนั้นการลีลาศในประเทศไทยก็เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย มีสถานลีลาศเปิดเพิ่มมากขึ้น มีการจัดแข่งขันลีลาศมากขึ้น และยังได้จัดส่งนักลีลาศไปแข่งขันในต่างประเทศและจัดแข่งขันลีลาศนานาชาติขึ้นในประเทศไทยอีกด้วย



มารยาทในการเต้นลีลาศ

                1. ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยหรือเหมาะสมกับงานที่จัดขึ้น โดยเฉพาะรองเท้าควรเป็น รองเท้าลีลาศหรือที่เหมาะสมกับการลีลาศ
                2. ควรสำรวมกิริยามารยาท โดยคำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามไว้เสมอ
                3. ไม่ควรออกลีลาศในขณะที่เสพสุรามากเกินไป หรือมีอาการมึนเมา
                4. การเข้าคู่ลีลาศ หรือ “Holding” ควรกระทำให้ถูกต้อง โดยเฉพาะในงานลีลาศออกสังคมควรคำนึงถึงวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม
                5. การลีลาศในงานสังคมไม่ควรพาคู่เต้นออกลวดลายเกินความจำเป็น และควรคำนึงถึงความสามารถของคู่เต้นด้วยว่าจะทำตามได้หรือไม่
                6. ควรระมัดระวังการกระทบกระทั่งกัน หากมีเหตุสุดวิสัยควรกล่าวคำขอโทษซึ่งกันและกัน และควรที่จะให้อภัยต่อกัน
                7. ระหว่างงานลีลาศ ควรแสดงออกถึงความสุขสนุกสนานและรื่นเริง และพูดคุยกันในสิ่งที่ดีงามและเป็นมงคล
                8. ในการลีลาศควรเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่เหมาะสม ซึ่งมีระบุไว้ในกฎกติกา ของการลีลาศในแต่ละจังหวะ โดยปกติแล้วจะเคลื่อนที่ไปในลักษณะทวนเข็มนาฬิกาตามแนวทางของการลีลาศ
                9. สุภาพบุรุษควรเดินเคียงคู่กับสุภาพสตรีออกไปลีลาศและนำส่งกลับโต๊ะที่นั่งหลังเสร็จสิ้นการลีลาศ
                10. ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำผู้ที่ยังลีลาศไม่เป็นลงไปสอนกลางฟลอร์ลีลาศ เพราะจะก่อความรำคาญให้คู่ลีลาศอื่นๆ
                11. สุภาพบุรุษกุบสุภาพบุรุษไม่ควรออกไปลีลาศคู่กันเพราะดูไม่สุภาพ
                12. ถ้าจะลีลาศกับผู้ที่มากับคนอื่น ควรจะขออนุญาตกับผู้ที่มาด้วยก่อนเสมอ
                13. ถ้าได้ปฏิเสธการขอลีลาศจากผู้ใดผู้หนึ่งไปแล้ว ไม่ควรจะออกลีลาศกับบุคคลอื่นในทันทีทันใด
                14. หลังเสร็จสิ้นการลีลาศในแต่ละครั้ง ควรกล่าวคำขอบคุณซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะลีลาศกับผู้ที่อาวุโสกว่าควรยกมือขึ้นไหว้ขอบคุณ แล้วพากลับเข้านั่งที่
                15. ควรเรียนรู้และศึกษาทักษะการลีลาศในแต่ละจังหวะของการลีลาศให้ถ่องแท้ก่อนการลงลีลาศจริงบนฟลอร์ เพื่อที่จะไม่เป็นที่ขัดความสำราญของผู้อื่น


ประโยชน์ของการเต้นลีลาศ

                1. ทำให้มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ และมีสมรรถภาพทางกายดีขึ้น
                2. ช่วยพัฒนาทักษะทางกลไก (Motor Skill) ให้ดียิ่งขึ้น
                3. ทำให้มีบุคลิกภาพในด้านการเคลื่อนไหวที่ดูสง่างามยิ่งขึ้น
                4. ช่วยผ่อยคลายความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ
                5. ทำให้มีชีวิตยืนยาว และปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข
                6. ส่งเสริมให้รู้จักการเข้าสังคม รู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยดี ทำให้มีเพื่อนและสมาชิกเพิ่มขึ้น
                7. ส่งเสริมให้มีความเชื่อมั่นในตนเองและกล้าแสดงออกในทางสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม
                8. ส่งเสริมให้รู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
                9. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี
                10. เป็นกิจกรรมนันทนาการ และเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์